ผู้เขียน หัวข้อ: กินอะไรบำรุงกระเพาะปัสสาวะ? รวม 6 อาหารสุขภาพที่ดีต่อสุขภาพกระเพาะปัสสาวะ  (อ่าน 84 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 190
  • ขายออนไลน์ ใหม่-มือสอง โปรโมทสินค้า บ้าน รถ สัตว์เลี้ยง พระเครื่อง ท่องเที่ยว เครื่องสำอาง เสื้อผ้า กล้อง เว็บสมัครงาน, ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี
    • ดูรายละเอียด
กินอะไรบำรุงกระเพาะปัสสาวะ? รวม 6 อาหารสุขภาพที่ดีต่อสุขภาพกระเพาะปัสสาวะ

กินอะไรบำรุงกระเพาะปัสสาวะ? วันนี้เรามี 6 อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพกระเพาะปัสสาวะของเรา กินแล้วไม่ทำให้ระคายเคือง และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะได้!

 
กินอะไรบำรุงกระเพาะปัสสาวะ?

 
1. ธัญพืชเต็มเมล็ด

เลือกกินคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหากระเพาะปัสสาวะ แนะนำให้กินธัญพืชเต็มเมล็ดอย่าง ควินัว ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลีบัลเกอร์ (Bulgur) และบัควีต (Buckwheat) ได้เลย ซึ่งยังถือเป็นแหล่งของไฟเบอร์และสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

 
2. ลูกแพร์

ลูกแพร์ เป็นแหล่งของไฟเบอร์ ดีต่อลำไส้ และดีต่อกระเพาะปัสสาวะ อีกทั้งยังถือเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย

 
3. กล้วย

กล้วย อุดมไปด้วยโพแทสเซียมและไฟเบอร์ มีส่วนช่วยกระตุ้นการขับถ่าย รวมถึงขับปัสสาวะได้ดี ซึ่งหากระบบขับถ่ายของเราไม่ดี ลำไส้อาจขยายใหญ่ขึ้นและทำให้เกิดแรงกดดันต่อระบบทางเดินปัสสาวะ โดยความกดดันที่เพิ่มเข้ามานี้จะทำให้การไหลของปัสสาวะถูกจำกัดมากขึ้น และอาจนำไปสู่ปัญหาทางเดินปัสสาวะตามมาได้

 
4. มันฝรั่ง

มันฝรั่ง ถือเป็นอาหารที่กินแล้วไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะในช่วงที่เราอยู่ในอากาศเย็น การกินมันฝรั่งจะดีต่อร่างกายและกระเพาะปัสสาวะของเราได้

 
5. ถั่วบางชนิด

ถั่วบางชนิด เช่น อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ แมคคาเดเมีย และถั่วลิสง เป็นแหล่งของโปรตีนและไขมันดี ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ อย่างไรก็ตามถั่วบางชนิดอาจจะระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนั้นต้องเลือกกินให้ดี และอย่าลืมเลือกกินแบบไม่ใส่เกลือด้วยนะ เพื่อจำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย นอกจากนั้นยังมีพืชตระกูลถั่วอย่างถั่วแขก ที่ก็ดีต่อทางเดินปัสสาวะของเราเช่นกัน

 
6. ไข่ขาว

ไข่ เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดี ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ และช่วยลดความเสี่ยงของภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยแนะนำให้กินไข่ขาวที่เป็นแหล่งของโปรตีนไขมันต่ำ ในขณะที่ไข่แดง แม้จะมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย แต่ก็มีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งอาจทำให้ไตแข็งได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงไข่แดงหากเป็นโรคไต!