การจัดฟันเด็ก เริ่มได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?ถ้าพูดถึงการจัดฟัน หลายคนคงอาจจะคิดว่า คงจะมีแต่การจัดฟันสำหรับผู้ใหญ่ ยังอาจจะไม่คุ้นเคยหรือได้ยินการจัดฟันเด็กมากสักเท่าไหร่ หรือบางคนก็อาจจะมีความคิดว่า เป็นเด็กอยู่ยังไม่ควรจัดฟัน
ควรจะไปเริ่มตอนที่โตกว่านี้ดีกว่า เพราะกลัวว่าถ้าเริ่มจัดฟันตั้งแต่เด็ก อาจจะทำให้ฟันมีปัญหาได้
หรือรอฟันแท้ขึ้นให้ครบก่อนค่อยจัดทีเดียวก็ได้ ซึ่งความคิดเหล่านี้เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง
วันนี้ จะขอมาอธิบายให้ฟังว่า การจัดฟันเด็กสำคัญอย่างไร? สามารถเริ่มจัดได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?
การจัดฟัน เริ่มได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?
การจัดฟัน จริง ๆ แล้วสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุประมาณ 6-7 ขวบ ไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก่อน เพราะจริง ๆ แล้วฟันของเด็กจะมีการเรียงตัวสวยได้ดีกว่าในช่วงวัยรุ่น
ดังนั้นถ้าพบว่าลูกของคุณมีปัญหาเรื่องฟัน สามารถที่จะปรึกษาทันตแพทย์ได้เลย ไม่ควรชะล่าใจคิดว่าไม่เป็นอะไร
การจัดฟันเด็ก จำเป็นแค่ไหน?
การจัดฟันในเด็กขึ้นอยู่กับกรณีของแต่ละคน ถ้ากรณีไหนที่ไม่ร้ายแรงก็อาจจะไม่จำเป็นต้องทำ แต่ถ้ากรณีไหนที่จำเป็นที่จะต้องรักษาจริง ๆ ก็ต้องรักษาและขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์
ปัญหาแบบไหนบ้างที่เด็กควรจัดฟัน?
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถจัดฟันเด็กให้กลับมาเรียงตัวสวยเป็นธรรมชาติ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลารอให้เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แล้วปัญหาฟันแบบไหนบ้างที่พบเจอในเด็ก จนต้องมาขอคำปรึกษาจากทันตแพทย์
ฟันห่าง เป็นปัญหาที่ช่องระหว่างฟันอยู่ห่างกันมากเกินไป ถ้าไม่เข้ารับการศึกษา จะทำให้เกิดการเก หรือทับซ้อนของฟัน ถ้าปล่อยไปเรื่อย ๆ เวลาที่เด็กโตไปจะทำให้ฟันเรียงตัวไม่สวยได้
ฟันยื่น หรือ ฟันเหยิน คือลักษณะที่ฟันด้านบนยื่นออกมามากผิดปกติ ซึ่งอาจจะทำให้บุคคลิกภาพดูไม่ค่อยดี ดังนั้นก็ควรจัดฟันเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่เด็ก
ฟันสบ ปัญหาฟันสบมีหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็น ฟันสบเปิด ฟันสบลึก ฟันสบไขว้ เกิดจากความผิดปกติของขากรรไกร ควรจะรีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อทำการจัดฟัน ให้ฟันกลับมาเรียงสวยงาม
ฟันเกิน คือการที่มีฟันงอกเพิ่มขึ้นจากจำนวนฟันปกติ และงอกขึ้นมาในพื้นที่ที่ไม่ควรงอก เช่น บนเพดาน ซึ่งถ้าไม่รีบปรึกษาทันตแพทย์จะเกิดปัญหาในช่องปากอื่น ๆ ตามมาได้
นอกจากนี้ผู้ปกครองยังต้องสังเกตพฤติกรรมของลูก ๆ คุณอีกด้วย เพราะพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะเกิดจากความผิดปกติของฟัน หรืออาจจะทำให้ฟันผิดปกติก็ได้ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้น คือ
การดูดนิ้ว อาจจะจริงอยู่ว่าเด็กกับการดูดนิ้วเป็นของคู่กัน แต่ถ้าเด็กที่มีอายุประมาณตั้งแต่ 4 ปี ขึ้นไป แล้วยังติดพฤติกรรมดูดนิ้วอยู่ อาจจะส่งผลต่อฟันในเรื่องการเรียงตัว และอาจจะส่งผลกับโครงสร้างกระดูกขากรรไกรอีกด้วย
การนอนกรนเป็นประจำ หรือการหายใจทางปาก ถ้าอาการนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยมากนัก ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติมากเท่าไหร่ แต่ถ้าสังเกตแล้วเกิดขึ้นบ่อยมากเกินไป อาจจะเสี่ยงที่จะส่งผลกับการเติบโตของขากรรไกร และอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันเกก็ได้