ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: น้ำรั่วจากพื้นห้องน้ำชั้นบนลงมาทำให้ฝ้าเพดานชั้นล่างเสียหาย แก้ไ  (อ่าน 29 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 189
  • ขายออนไลน์ ใหม่-มือสอง โปรโมทสินค้า บ้าน รถ สัตว์เลี้ยง พระเครื่อง ท่องเที่ยว เครื่องสำอาง เสื้อผ้า กล้อง เว็บสมัครงาน, ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี
    • ดูรายละเอียด
ซ่อมบำรุงอาคาร: น้ำรั่วจากพื้นห้องน้ำชั้นบนลงมาทำให้ฝ้าเพดานชั้นล่างเสียหาย แก้ไขอย่างไร

น้ำรั่วจากพื้นห้องน้ำชั้นบนลงมาทำให้ฝ้าเพดานชั้นล่างเสียหาย กรณีนี้จำเป็นต้องรื้อฝ้าเพดานหรือเปิดฝ้าบริเวณที่มีคราบน้ำรั่ว เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอต่อการซ่อมแซมจุดรั่วซึมจากห้องน้ำนะครับ

น้ำรั่วจากพื้นห้องน้ำ วิธีแก้ไขน้ำรั่ว

เมื่อเปิดฝ้าออกแล้วจะสามารถเห็นร่องรอยการรั่วซึมได้ง่าย เช่น สังเกตว่ามีรอยฉ่ำน้ำบริเวณใดบริเวณหนึ่ง มีสิ่งสกปรกเกาะตัวกันเป็นสายยื่นย้อยลงมาเหมือนหินย้อย หรือที่ง่ายๆเลยก็เห็นเป็นรอยแตกของพื้นคอนกรีตพร้อมกับมีคราบน้ำหยดลงมา


นอกจากนี้ที่พบบ่อยก็คือน้ำรั่วจากการติดตั้งชักโครกไม่ดี, รั่วจากการติดตั้ง FLOOR DRAIN หรือรูระบายน้ำที่พื้นและข้อต่อท่อระบายน้ำไม่สนิท

ส่วนการซ่อมแซมนั้นควรจะทำจากด้านในห้องน้ำเป็นหลักก่อนแล้วค่อยไปซ่อมรอบๆห้องน้ำนะครับ หากซ่อมเพียงด้านใต้ห้องน้ำนั้น อาจจะไม่หายขาด เนื่องจากแผลรั่วยังอยู่บนพื้นห้องน้ำ การอุดด้านล่างจะทำให้น้ำรั่วนั้น วิ่งหาทางออกในจุดอื่นๆ ต่อไปเรื่อยๆ และเมื่อหลังจากแก้ไขแล้วควรทดลองใช้งานห้องน้ำดูก่อน แล้วจึงค่อยซ่อมแซมฝ้าเพดานปิดไว้ให้เรียบร้อยดังเดิม



ส้วมราดน้ำไม่ค่อยลง พอฝนตกจะมีอาการแย่ลงอีก ต้องทำอย่างไร

ตอบ อาการแบบนี้พบได้บ่อยๆกับส้วมประเภทตักราดในชั้น 1 และใช้ระบบส้วมซึม คือไม่ได้ใช้บ่อบำบัดสำเร็จรูปฝังดิน ผมขอเพิ่มเติมเป็นความรู้ให้แก่ท่านก่อนจะไปถึงวิธีแก้ปัญหานะครับ ระบบส้วมซึมเป็นระบบเดิมๆที่เราเคยใช้กัน พบมากในต่างจังหวัด ในกรุงเทพฯส่วนใหญ่ใช้บ่อหรือถังบำบัดสำเร็จรูปชนิดฝังดินกันหมดแล้ว ระบบส้วมซึมเดิมทำขึ้นจากปลอกซิเมนต์ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร – 1 เมตร ขุดฝังลงไปจำนวน 2 บ่อ เรียกว่า บ่อเกรอะและบ่อซึม

ส้วมราดน้ำไม่ค่อยลงบ่อเกรอะมีหน้าที่บรรจุสิ่งปฏิกูลและจะปล่อยน้ำไหลออกไปที่บ่อซึม บ่อซึมจะปล่อยให้น้ำซึมออกสู่ดินด้านข้างๆ บ่อต่อไป แต่ในกรณีที่น้ำใต้ดินสูง เช่น ฝนตกหนักหรือบ้านอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองที่มีเวลาน้ำขึ้น-ลง บ่อน้ำซึมนี้กลับกลายเป็นบ่อที่มีน้ำซึมเข้ามามากจนล้นย้อนเข้าไปสู่บ่อเกรอะ ทำให้บ่อเกรอะเต็มไปด้วยน้ำ ส่งผลให้ส้วมนั้นราดไม่ลงไปด้วย

การแก้ปัญหาในขั้นต้นเลยก็คือ ต้องแจ้งเทศบาลมาดูดสิ่งปฏิกูลออกไปจากบ่อเกรอะและบ่อซึม ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาได้เฉพาะหน้า แต่หากจะแก้ปัญหาแบบถาวรนั้น ต้องยกฐานส้วมให้สูงขึ้นประมาณ 1 ฟุต และต่อบ่อเกรอะให้สูงขึ้นอีก 1 ฟุต เช่นกัน เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บสิ่งปฏิกูลในระดับที่พ้นจากน้ำซึม (ที่จะย้อนเข้ามาสร้างปัญหา)

หรือด้วยวิธีที่ 2 คือ นอกจากจะยกฐานส้วมแล้วให้ปรับเปลี่ยนระบบบ่อเกรอะ-บ่อซึมเดิมเป็นบ่อบำบัดสำเร็จรูปโดยติดตั้งให้ระดับบ่ออยู่สูงกว่าท่อระบายน้ำสาธารณะ แต่มีข้อแม้ว่าถนนหน้าบ้านของท่านจะต้องมีท่อระบายน้ำสาธารณะด้วยนะครับจึงจะทำได้