ผู้เขียน หัวข้อ: ไวรัสตับอักเสบ ภัยเงียบที่มักถูกละเลย...แต่อันตรายถึงชีวิต!!  (อ่าน 17 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 175
  • ขายออนไลน์ ใหม่-มือสอง โปรโมทสินค้า บ้าน รถ สัตว์เลี้ยง พระเครื่อง ท่องเที่ยว เครื่องสำอาง เสื้อผ้า กล้อง เว็บสมัครงาน, ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี
    • ดูรายละเอียด
ไวรัสตับอักเสบ ภัยเงียบที่มักถูกละเลย...แต่อันตรายถึงชีวิต!!

เมื่อติดเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ตับจะก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบ ส่งผลให้ตับทำงานผิดปกติ มีอาการตับบวมโต อ่อนเพลีย ซึ่งไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ, บี, ซี, ดี, อี เป็นต้น แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขประเทศไทย ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี และ ไวรัสตับอักเสบซี

 
ร่างกายรับเชื้อไวรัสตับอักเสบได้อย่างไร

    จากกลุ่มผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกายแต่ไม่แสดงอาการ สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ เรียกว่า พาหะ (Carrier) ซึ่งพาหะมักเป็นได้กับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี เท่านั้น
    ไวรัสตับอักเสบเอและอี ติดต่อทางอาหาร น้ำดื่ม การสัมผัสอุจจาระ ฉะนั้นการป้องกันควรดื่มน้ำต้มสุก อาหารปรุงสุก ล้างมือให้สะอาด ผักผลไม้ล้างให้สะอาด ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบอี ส่วนไวรัสตับอักเสบเอมีวัคซีนป้องกัน ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
    ไวรัสตับอักเสบบีและซี แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด เช่น เจ้าหน้าที่พยาบาลถูกเข็มฉีดยาที่มีเชื้อไวรัสตำมือ ผู้ที่ติดยาเสพติดแล้วใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นต้น
    การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกสำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีโอกาสสูงมาก แต่ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ฉีดให้ทารกหลังคลอดทุกราย ทำให้ป้องกันการติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ดีมาก

อาการเหล่านี้..คือสัญญาณเตือนของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน

ไม่ว่าจะเกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิดไหน จะมีอาการคล้ายกัน…แต่น้อยหรือมากขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อไวรัสที่ร่างกายได้รับ และสภาพร่างกายดั้งเดิมของผู้ป่วย ซึ่งอาการโดยมากที่พบ ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย จุกแน่นใต้ชายโครงขวา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลือง ประมาณ 1 – 4 สัปดาห์ อาการตัวเหลือง ตาเหลืองจะหายไป

 
แต่หากมีอาการเหล่านี้…คุณอาจกำลังเป็น “ตับอักเสบเรื้อรัง”

เชื้อไวรัสที่ทำให้ตับอักเสบเรื้อรัง มี 2 ชนิด คือ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี มักไม่แสดงอาการ บางรายอาจรู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนบ้างในช่วงที่มีภาวะตับอักเสบ การติดเชื้อไวรัสจะทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ตับทีละน้อยจนเกิดภาวะตับแข็งและเพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็ง สามารถตรวจดูการอักเสบของตับได้จากการตรวจเลือด อาการตับแข็งและมะเร็งตับ ในระยะแรกไม่มีอาการแต่อาจมีอาการเพลียบ้าง มักมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องบวม เท้าบวม อาเจียนเป็นเลือด ตัวตาเหลือง

 
ไวรัสตับอักเสบ เมื่อติดเชื้อแล้ว…ต้องรีบรักษา

    ไวรัสตับอักเสบเอ บี ชนิดเฉียบพลัน และอีส่วนใหญ่ แพทย์จะรักษาแบบประคับประคองรักษาตามอาการ เน้นการรักษาเพื่อลดการอักเสบของตับ เช่น รับประทานอาหารได้น้อย อ่อนเพลียอาจจะให้น้ำเกลือ ฃ
    แนะนำการปฏิบัติตัว ได้แก่ การพักผ่อนมากๆในช่วงที่มีอาการอ่อนเพลีย สามารถทำกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงมาก การรับประทานอาหารอย่างพอเพียง หลีกเลี่ยง อาหารไขมันสูง งดแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงยาพาราเซตามอล
    การตรวจติดตามผลเลือดเป็นระยะเพื่อดูการทำงานของตับว่าดีขึ้นหรือไม่

 
“ไวรัสตับอักเสบซี” ภาวะเรื้อรัง…ที่ส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรง

ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่จะเป็นเรื้อรังถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด การรักษาขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของตับ ถ้าหากตับวาย หรือมะเร็งตับ แพทย์จะไม่รักษาด้วยยารักษาไวรัสตับอักเสบซี เพราะจะเน้นที่การรักษามะเร็งมากกว่า หรือหากมีภาวะตับวายการรักษาจะมีความเสี่ยงสูง ฉะนั้นการรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

 
ไวรัสตับอักเสบ มีโอกาสรักษาหายหรือไม่?

    ไวรัสตับอักเสบบี เมื่อเป็นในระยะเฉียบพลันแล้ว มีโอกาสหายขาดได้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่ติดเชื้อ แต่มี 5 – 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นตับอักเสบเรื้อรัง
    ไวรัสตับอักเสบ เอและ อี การรักษาจะหายขาด ส่วนใหญ่หายได้เองและมีภูมิต่อโรค ทำให้ไม่เป็นโรคนี้ซ้ำอีก และไม่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ยกเว้นไวรัสตับอักเสบอี ในหญิงตั้งครรภ์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง
    ไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ผลการรักษาขึ้นกับชนิดของไวรัสตับอักเสบซี

 
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ

    สามารถออกกำลังกายได้ปกติ แต่ไม่ควรหักโหมในช่วงที่มีอาการตับอักเสบเฉียบพลัน
    ควรพักผ่อนให้พอเพียง
    งดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวได้มากขึ้น และทำให้เซลล์ตับเสื่อมเร็วขึ้น
    การรับประทานยาทุกชนิด ควรปรึกษาแพทย์
    การพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจเลือดดูการทำงานของตับเป็นระยะ
    การมีเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางอนามัย
    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
    เมื่อมีการผ่าตัดหรือทำฟัน ควรแจ้งแพทย์ทราบเสมอ
    หลีกเลี่ยงความเครียด
    แนะนำให้คนใกล้ชิดที่อยู่บ้านเดียวกัน ให้ตรวจเลือด และฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบี
    งดการบริจาคโลหิต